สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีการดนตรีในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เพราะว่า เรื่องราวชนชาติไทยปรากฏหลักฐานเด่นชัดขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในศิลา และจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยนี้ ทำให้ทราบประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างดี ( เฉลิม พงศ์อาจารย์. 2529 : 90)
เพราะในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่จารึกเป็นคำสั้นๆ ว่า “ เสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540: 9 อ้างใน ณรงค์ชัย ปิฎกรัชน์. 2528 : 17) ทำให้เราทราบถึงดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดีมีความกว้างขวางมากมาย เสียงพาทย์ หมายถึง การบรรเลงวงปี่พาทย์ เสียงพิณ หมายถึง วงเครื่องสาย เป็นต้น
ทวีสิทธิ์ ไทยวิจิตร ได้กล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย โดยสันนิษฐานว่า เครื่องดนตรีไทย มีกลองสองหน้า แตรงอน (คล้ายเขาสัตว์ทำด้วยโลหะ ) แตรสังข์ (ทำจากหอยสังข์) ตะโพน ฆ้อง กลองทัด ฉิ่ง บัณเฑาะ กรับ กังสดาล มโหระทึก ซอสามสาย ระนาด ปี่ไฉน (สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 9)สรุปได้ว่า เครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น เครื่องดนตรีมีครบทั้ง 4 ประเภท อย่างเช่นสมัยปัจจุบัน คือ
เครื่องดีด ได้แก่ พิณ เป็นต้น เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ ขลุ่ย เป็นต้น
เครื่องตี ได้แก่ ระนาด ฆ้อง กลอง เป็นต้นเครื่องสี ได้แก่ ซอ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น